ประเภทของปั๊มลมไฟฟ้า มีกี่แบบใช้งานอย่างไรบ้าง

ปั๊มลม

ปั๊มลม หรือ เครื่องอัดอากาศจะทำหน้าที่อัดลมให้มีแรงดันตามที่เราต้องการ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และ ปรุยุคใช้ได้หลายด้านไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก จนไปจึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และ มักใช้ในอู่ซ่อมรถยนต์ ร้านซ่อมจักรยานยนต์ และ ทางด้านการแพทย์ และ ทันตกรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้ปั๊มลมประเภทลูกสูบ โดยที่ปริมาณการใช้ลมนั้นจะน้อยและแรงดันลมจะไม่สูง  capitallaboratory

ประเภทของปั๊มลมไฟฟ้า

  1. ปั๊มลมแบบลูกสูบ (Piston Air Compressor)

ปั๊มลมลูกสูบ เป็นปั๊มลมที่ได้รับความนิยมในการใช้งานมากที่สุด ด้วยราคาที่ไม่แพงมากนัก อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก โดยความดันหรือแรงดันลมสามารถทำได้ตั้งแต่ 1 bar ไปจนถึง 1,000 bar สามารถสูบลมให้มีความดันได้หลายระดับ จึงเหมาะสมกับการใช้งานหลากหลายด้าน

  1. ปั๊มลมแบบสกรู (Screw Air Compressor)

ปั๊มลมแบบสกรู จะเป็นปั๊มลมที่เหมาะสำหรับการใช้งานตามโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากสามารถอัดแรงดันลมได้มากกว่า สามารถจ่ายลม 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min) และยังสามารถทำความดันได้สูงถึง 13 บาร์ ตัวเครื่องของปั๊มลมแบบสกรูจะไม่มีลิ้นในการเปิดปิดเหมือนกับปั๊มลมแบบลูกสูบ แต่จะมีสกรู 2 อันประกบกันแล้วใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการหมุนเพื่อให้เกิดแรงอัดอากาศขึ้นมา โดยตัวเครื่องอัดลมแบบสกรูจะมีขนาดใหญ่กว่าแบบลูกสูบ

  1. ปั๊มลมแบบใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor)

ปั๊มลมประเภทนี้มีความโดดเด่นในเครื่องของแรงดันที่คงที่ เนื่องจากตัวเครื่องหมุนมีความสม่ำเสมอ ทำให้ปั๊มลมแบบใบพัดเลื่อนเหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงดันลมที่คงที่ โดยเครื่องปั๊มลมแบบใบพัดเดียวจะสามารถกระจายแรงลมได้ 4 – 100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min) และมีระดับความดันของลมอยู่ที่ 4 – 10 บาร์

  1. ปั๊มลมแบบใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)

ปั๊มลมแบบใบพัดหมุน เป็นเครื่องปั๊มลมที่มีใบพัดหมุน 2 ตัว เมื่อตัวเครื่องทำงานลมก็จะถูกดูดเข้าไปจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง และอากาศก็ถูกนำเข้าไปบีบอัดในถังเก็บลมเพื่อนำออกมาใช้งานต่อไป แต่ปั๊มลมประเภทนี้จะต้องอาศัยการระบายความร้อนและอุณภูมิที่ดี ดังนั้นการเลือกนำปั๊มลมประเภทนี้ไปใช้งาน จะต้องพิจารณาถึงเรื่องของสถานที่ที่จะนำไปติดตั้งใช้งานประกอบด้วย

  1. ปั๊มลมแบบไดอะเฟรม (Diaphargm Air Compressor)

ปั๊มลมไดอะเฟรม เป็นปั๊มลมที่ใช้หลักการทำงานของลูกสูบและหัวดูดอากาศแยกออกจากกัน ทำให้ลมที่ถูกดูดเข้าไปมีความสะอาดไม่สัมผัสกับโลหะหรือน้ำมันหล่อลื่น ซึ่งข้อดีของปั๊มลมประเภทนี้คือลมที่ได้จะมีความสะอาดไม่ปนเปื้อน ทำให้อุตสาหกรรมประเภทอาหารและยา มักจะนิยมเลือกใช้ปั๊มลมไดอะเฟรมในการทำงาน

  1. ปั๊มลมแบบกังหัน (Redial and axial flow Air Compressor)

ปั๊มลมแบบกังหัน เป็นปั๊มลมที่สามารถจ่ายลมออกมาได้จำนวนมาก ลักษณะจะเป็นเหมือนกับกังหันที่ดูดลมเข้าจากอีกด้านไปสู่อีกด้าน ด้วยแกนหมุนที่มีอัตราความเร็วสูง จึงสามารถผลิตลมได้มากถึง 2,000 m3/min ดังนั้นจึงเหมาะกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีความจำเป็นต้องใช้แรงดันลมสูง

หลักการทำงานปั๊มลม

ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นกำลังขับเคลื่อนลูกสูบให้เคลื่อนที่ขึ้นลง ซึ่งจะทำให้เกิดแรงดูดและอัดกาศภายในกระบอกสูบ โดยมีวาล์วทางด้านดูด และ วาล์วทางออกทำงานสัมพันธ์กัน เป็นปั๊มลมที่นิยมใช้งานมากที่สุด ราคาไม่สูงมาก เคลื่อนย้ายได้สะดวก

วิธีการเลือกซื้อปั๊มลม

 การเลือกซื้อปั๊มลมต้องคำนึงถึงลักษณะงานที่เราจะใช้ ว่าเราต้องการใช้ปั๊มลมที่มีแรงดันมากน้อยแค่ไหน ต้องการความต่อเนื่องของงานหรือไม่ การจ่ายลมสามารถทำงานต่อเนื่องได้หรือไม่ หรือแม้แต่สถานที่ที่จะใช้ทำงานก็มีส่วนสำคัญ เพราะปั๊มลมแต่ละชนิดมีเสียงดัง-เบา ไม่เท่ากัน ต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะงานและสถานที่ทำงานของผู้ใช้ด้วย

  1. ดูว่าผลิตจากวัสดุคุณภาพดีหรือไม่
  2. มีขนาดเล็กไม่เกะกะ พกพาสะดวก
  3. มีไฟ LED ที่ช่วยในการทำงานหากจำเป็นต้องใช้ในเวลากลางคืน
  4. สามารถปั๊มลมได้อย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่กี่นาที
  5. สามารถใช้งานโดยเสียบเข้ากับที่จุดบุหรี่ในรถยนต์ หรือ หนีบขั้วแบตเตอรี่รถยนต์
  6. สามารถตั้งโปรแกรม PSI ที่ตัวเครื่องให้ตัดอัตโนมัติ

By calibration
No widgets found. Go to Widget page and add the widget in Offcanvas Sidebar Widget Area.