กาวอะคริลิค กาวยาแนวที่มีส่วนประกอบหลักมาจากโพลีเมอร์อะคริลิค

กาวยาแนว

กาวอะคริลิค คือ กาวยาแนวที่มีส่วนประกอบหลักมาจากโพลีเมอร์อะคริลิค หรืออะคริลิคเรซิ่นสูตรน้ำ โดยอาจถูกเรียกกันอย่างแพร่หลายกันในหลาย ๆ ชื่อ เช่น แด๊บ (DAP) เป็นต้น เมื่อแห้งและแข็งตัวจะความแข็งแรง แต่มีความยืดหยุ่นต่ำกว่ากาวซิลิโคน มักถูกนำไปใช้ในงานภายในอาคารและในงานตกแต่งต่าง ๆ อะคริลิค คือ กาวยาแนวที่มีส่วนประกอบหลักมาจากโพลีเมอร์อะคริลิค หรืออะคริลิคเรซิ่นสูตรน้ำ โดยอาจถูกเรียกกันอย่างแพร่หลายกันในหลาย ๆ ชื่อ เช่น แด๊บ (DAP) เป็นต้น เมื่อแห้งและแข็งตัวจะความแข็งแรง แต่มีความยืดหยุ่นต่ำกว่ากาวซิลิโคน มักถูกนำไปใช้ในงานภายในอาคารและในงานตกแต่งต่าง ๆ

อะคริลิคมีทั้งข้อดีและข้อเสียในการใช้งาน

ข้อดีที่เด่นที่สุดของอะคริลิค คือ อะคริลิคนั้นสามารถทาสีทับได้ เนื่องจากอะคริลิคมีลักษณะพื้นผิวที่ด้าน และยังมีราคาที่ถูกกว่าซิลิโคน แต่ด้วยความที่อะคริลิคมีส่วนประกอบที่เป็นสูตรน้ำ ทำให้น้ำสามารถซึมผ่านอะคริลิคได้ (Water Permeable) จึงไม่สามารถนำไปใช้ในที่ที่เปียกหรือแฉะได้ มิฉะนั้นกาวอะคริลิคจะสามารถขึ้นราได้ 

นอกจากนี้กาวอะคริลิคมีโครงสร้างของโพลีเมอร์ที่หยาบกว่าซิลิโคน จึงทำให้อะคริลิคดักฝุ่นและสกปรกได้ง่ายกว่าซิลิโคนที่มีลักษณะพื้นผิวเรียบมัน และหลังจากแห้งตัว กาวอะคริลิคจะมีการหดตัว และอาจจะมีการแตกได้ถ้าหากรอยต่อมีการขยับตัวมาก เนื่องจากกาวอะคริลิคมีความยืดหยุ่นที่ต่ำ

ฉะนั้นกาวอะคริลิคจึงเหมาะสมกับแก่การใช้งานภายใน ที่ไม่มีการโดนน้ำฝน ไม่มีความชื้น เหมาะกับการตกแต่งทั้งภายในและภายนอกที่มีการสีทับ และสามารถใช้ได้กับวัสดุที่มีรูพรุนสูง เพราะกาวอะคริลิคจะไม่ทำให้เกิดคราบบนวัสดุที่มีรูพรุนอย่างเช่นกาวซิลิโคน เช่น บนคอนกรีต แผ่น Precast หินธรรมชาติ อิฐ และไม้

AdSeal ACRYL 702 เป็นกาวอะคริลิคคุณภาพสูงที่ถูกพัฒนาให้มีความยืดหยุ่นสูง ใช้ยาแนวช่องว่างและรอยต่อเพื่อกันน้ำและกันอากาศได้ ป้องกันการแตกร้าว สามารถใช้ในการยาแนวสุขภัณฑ์ได้ และ NCRYL1 FASRCURE กาวอะคริลิคสำหรับงานทั่วไป สามารถยึดเกาะตัวได้ดีกับวัสดุหลากหลายชนิด รวมทั้งวัสดุที่ มีรูพรุนโดยไม่ต้องใช้สารรองพื้น เช่น กระจก พลาสติค อิฐ ไม้ คอนกรีต หินอ่อน แผ่นปูนพลาสเตอร์ แผ่นซีเมนต์ กระเบื้องเซรามิค

อะคริลิค ยาแยวเหมาะสำหรับงานปิดรอยเพราะสามารถทาสีทับได้

ในปัจจุบัน อะคริลิคยาแนวที่ขายในอยู่ในท้องตลาด มีหลายระดับราคา และมีหลายความยืดหยุ่นให้เลือก ซึ่งความยืดหยุ่นเกิดจากการผสมสารเพื่อเพิ่มคุณสมบัติต่าง ๆ เข้าไป นอกจากความยืดหยุ่นแล้วยังมีการเพิ่มสารคุณสมบัติต่าง ๆ เข้าไปด้วย เช่น ความทนต่อรังสี UV  สารป้องกันเชื้อรา ถึงแม้บางสูตรจะสารเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับ อคริลิคยาแนวแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสในการแตกร้าวได้เช่นกัน จึงไม่เหมาะกับการใช้ในส่วนที่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ หรือบริเวณที่มีแรงสั่นสะเทือน

จุดเด่นของอะคริลิกยาแนว คือสามารถขัดแต่งผิวงานได้และทาสีทับได้ 

โดยอะคริลิกยาแนวนี้เหมาะสำหรับงานทั่ว ๆ ไป เช่น งานปิดรอยแตกร้าวของผนัง แนวเชื่อมต่อของกรอบประตู หน้าต่างกับผนัง รอยต่อสุขภัณฑ์ เป็นต้น ข้อด้อยของอะคริลิด ยาแนว คือ ไม่ทนทานต่อรังสี UV  หากใช้งานภายนอกอาคารจะมีอายุการใช้งานที่สั้น และเนื่องจากอะคริลิค ยาแนวมีน้ำเป็นตัวทำละลายจึงไม่เหมาะสำหรับการใช้ในพื้นที่ที่เปียกชื้น เพราะจะทำให้เนื้ออะคริลิคไม่แข็งตัว อะคริลิค ยาแนวนี้สามารถใช้ได้กับทุกพื้นผิว ซึ่งมีสีให้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับวัสดุนั้น ๆ

ซิลิโคน อะคริลิค ความเหมือนที่แตกต่าง

ทั้ง2ชนิด มีความเหมือนกันตรงที่เป็นวัสดุหรือวัตถุที่ใช้สำหรับอุดหรือประสานรอยต่อต่างๆ หรือที่ทั่วไปเรียกกันว่า “ยาแนว” นั่นเอง แต่แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ คุณสมบัติและความเหมาะสมในการใช้งานแต่ละประเภท ดังนี้

อะคริลิค 

ทำมาจากวัสดุโพลิเมอร์กลุ่มไฮโดรคาร์บอน (คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน) จะมีลักษณะ เป็นของเหลวคล้ายกาวลาเท็กซ์ หรือที่ช่างส่วนใหญ่เรียกกันว่า “แด๊ป (DAP)” เมื่อแข็งตัวหรือเซ็ตตัวแล้วจะไม่ละลายน้ำจุดเด่นของอะคริลิค คือ สามารถทาสีทับและขัดแต่งผิวงาน และสามารถใช้กับวัสดุทั้งผิวเรียบและผิวขรุขระได้ เหมาะสำหรับใช้ประสานรอยต่อ ระหว่างผนังปูนกับวงกบประตู หน้าต่าง ไม้ อลูมิเนียม หรือรอยร้าวที่มีขนาดเล็กๆ

ซิลิโคน 

เป็นวัสดุโพลิเมอร์ (ประกอบด้วย ซิลิกอน คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน) มีลักษณะเป็นสารกึ่งของเหลว มีความยืดหยุ่น คล้ายเจล จุดเด่นของซิลิโคน คือ ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดีเหมาะสำหรับงานอุดและประสานรอยต่อของวัสดุที่มีพื้นผิวเรียบ เช่น กระจก เซรามิค ไฟเบอร์กลาส ไม้ และอลูมิเนียม แต่ไม่เหมาะสำหรับพื้นผิวที่มีฝุ่นเกาะ เพราะซิลิโคนจะไม่จับกับพื้นผิววัสดุแต่จะไปจับกับฝุ่นแทน ทำให้ไม่มีแรงยึดเกาะกับพื้นผิววัสดุและจุดอ่อนอีกหนึ่งอย่างของซิลิโคน คือ ไม่สามารถทาสีทับได้

ซิลิโคน นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ซิลิโคนชนิดมีกรด (Acetic Cure Silicone) จุดเด่นคือแห้งเร็ว แต่มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวของกรดระเหยออกมาเมือใช้งาน เหมาะกับการใช้งานในการอุดหรือประสานรอยต่อระหว่างกระจกกับกระจก มีแรงยึดเกาะที่แข็งแรง ไม่เหมาะสำหรับใช้กับพื้นผิวโลหะ หรือหินอ่อนเนื่องจากกรดจะออกฤทธิ์ในการกัดกร่อนพื้นผิวดังกล่าว
  2. ซิลิโคนชนิดไม่มีกรด (Neutral Cure Silicone) จุดเด่นคือ มีความยืดหยุ่นมากกว่า ชนิดมีกรด แต่แห้งช้าและมีความแข็งแรงน้อยกว่า เหมาะสำหรับใช้ประสานหรืออุดรอยต่อ พื้นผิวโลหะ หินอ่อน กระจก อลูมิเนียม
By calibration
No widgets found. Go to Widget page and add the widget in Offcanvas Sidebar Widget Area.