ปั๊มลม หรือ เครื่องอัดอากาศจะทำหน้าที่อัดลมให้มีแรงดันตามที่เราต้องการ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และ ปรุยุคใช้ได้หลายด้านไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก จนไปจึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และ มักใช้ในอู่ซ่อมรถยนต์ ร้านซ่อมจักรยานยนต์ และ ทางด้านการแพทย์ และ ทันตกรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้ปั๊มลมประเภทลูกสูบ โดยที่ปริมาณการใช้ลมนั้นจะน้อยและแรงดันลมจะไม่สูง capitallaboratory
ประเภทของปั๊มลมไฟฟ้า
- ปั๊มลมแบบลูกสูบ (Piston Air Compressor)
ปั๊มลมลูกสูบ เป็นปั๊มลมที่ได้รับความนิยมในการใช้งานมากที่สุด ด้วยราคาที่ไม่แพงมากนัก อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก โดยความดันหรือแรงดันลมสามารถทำได้ตั้งแต่ 1 bar ไปจนถึง 1,000 bar สามารถสูบลมให้มีความดันได้หลายระดับ จึงเหมาะสมกับการใช้งานหลากหลายด้าน
- ปั๊มลมแบบสกรู (Screw Air Compressor)
ปั๊มลมแบบสกรู จะเป็นปั๊มลมที่เหมาะสำหรับการใช้งานตามโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากสามารถอัดแรงดันลมได้มากกว่า สามารถจ่ายลม 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min) และยังสามารถทำความดันได้สูงถึง 13 บาร์ ตัวเครื่องของปั๊มลมแบบสกรูจะไม่มีลิ้นในการเปิดปิดเหมือนกับปั๊มลมแบบลูกสูบ แต่จะมีสกรู 2 อันประกบกันแล้วใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการหมุนเพื่อให้เกิดแรงอัดอากาศขึ้นมา โดยตัวเครื่องอัดลมแบบสกรูจะมีขนาดใหญ่กว่าแบบลูกสูบ
- ปั๊มลมแบบใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor)
ปั๊มลมประเภทนี้มีความโดดเด่นในเครื่องของแรงดันที่คงที่ เนื่องจากตัวเครื่องหมุนมีความสม่ำเสมอ ทำให้ปั๊มลมแบบใบพัดเลื่อนเหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงดันลมที่คงที่ โดยเครื่องปั๊มลมแบบใบพัดเดียวจะสามารถกระจายแรงลมได้ 4 – 100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min) และมีระดับความดันของลมอยู่ที่ 4 – 10 บาร์
- ปั๊มลมแบบใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)
ปั๊มลมแบบใบพัดหมุน เป็นเครื่องปั๊มลมที่มีใบพัดหมุน 2 ตัว เมื่อตัวเครื่องทำงานลมก็จะถูกดูดเข้าไปจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง และอากาศก็ถูกนำเข้าไปบีบอัดในถังเก็บลมเพื่อนำออกมาใช้งานต่อไป แต่ปั๊มลมประเภทนี้จะต้องอาศัยการระบายความร้อนและอุณภูมิที่ดี ดังนั้นการเลือกนำปั๊มลมประเภทนี้ไปใช้งาน จะต้องพิจารณาถึงเรื่องของสถานที่ที่จะนำไปติดตั้งใช้งานประกอบด้วย
- ปั๊มลมแบบไดอะเฟรม (Diaphargm Air Compressor)
ปั๊มลมไดอะเฟรม เป็นปั๊มลมที่ใช้หลักการทำงานของลูกสูบและหัวดูดอากาศแยกออกจากกัน ทำให้ลมที่ถูกดูดเข้าไปมีความสะอาดไม่สัมผัสกับโลหะหรือน้ำมันหล่อลื่น ซึ่งข้อดีของปั๊มลมประเภทนี้คือลมที่ได้จะมีความสะอาดไม่ปนเปื้อน ทำให้อุตสาหกรรมประเภทอาหารและยา มักจะนิยมเลือกใช้ปั๊มลมไดอะเฟรมในการทำงาน
- ปั๊มลมแบบกังหัน (Redial and axial flow Air Compressor)
ปั๊มลมแบบกังหัน เป็นปั๊มลมที่สามารถจ่ายลมออกมาได้จำนวนมาก ลักษณะจะเป็นเหมือนกับกังหันที่ดูดลมเข้าจากอีกด้านไปสู่อีกด้าน ด้วยแกนหมุนที่มีอัตราความเร็วสูง จึงสามารถผลิตลมได้มากถึง 2,000 m3/min ดังนั้นจึงเหมาะกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีความจำเป็นต้องใช้แรงดันลมสูง
หลักการทำงานปั๊มลม
ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นกำลังขับเคลื่อนลูกสูบให้เคลื่อนที่ขึ้นลง ซึ่งจะทำให้เกิดแรงดูดและอัดกาศภายในกระบอกสูบ โดยมีวาล์วทางด้านดูด และ วาล์วทางออกทำงานสัมพันธ์กัน เป็นปั๊มลมที่นิยมใช้งานมากที่สุด ราคาไม่สูงมาก เคลื่อนย้ายได้สะดวก
วิธีการเลือกซื้อปั๊มลม
การเลือกซื้อปั๊มลมต้องคำนึงถึงลักษณะงานที่เราจะใช้ ว่าเราต้องการใช้ปั๊มลมที่มีแรงดันมากน้อยแค่ไหน ต้องการความต่อเนื่องของงานหรือไม่ การจ่ายลมสามารถทำงานต่อเนื่องได้หรือไม่ หรือแม้แต่สถานที่ที่จะใช้ทำงานก็มีส่วนสำคัญ เพราะปั๊มลมแต่ละชนิดมีเสียงดัง-เบา ไม่เท่ากัน ต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะงานและสถานที่ทำงานของผู้ใช้ด้วย
- ดูว่าผลิตจากวัสดุคุณภาพดีหรือไม่
- มีขนาดเล็กไม่เกะกะ พกพาสะดวก
- มีไฟ LED ที่ช่วยในการทำงานหากจำเป็นต้องใช้ในเวลากลางคืน
- สามารถปั๊มลมได้อย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่กี่นาที
- สามารถใช้งานโดยเสียบเข้ากับที่จุดบุหรี่ในรถยนต์ หรือ หนีบขั้วแบตเตอรี่รถยนต์
- สามารถตั้งโปรแกรม PSI ที่ตัวเครื่องให้ตัดอัตโนมัติ